วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประชาธิปไตยในโรงเรียน : แนวทางแก้ปัญหาสังคม

หากมองปัญหาความขัดแย้งทางความคิดของคนในสังคมไทยปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็นของฝ่ายที่เห็นด้วยหรือฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจะพบว่า ความขัดแย้งดังกล่าว เกิดจากการไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังมีความพยายามที่จะชักนำประชาชนให้เห็นคล้อยตาม ไม่ว่าจะเป็นชักนำโดยการให้ความรู้ หรือให้แนวคิดแบบผิดๆ หรือการชักนำโดยมีการว่าจ้างเป็นแรงจูงใจก็ตาม นั่นอาจเป็นเพราะคนในสังคมไทยไม่ยอมรับความเป็นประชาธิปไตย และการที่จะทำให้คนไทยทุกคน สามารถเข้าถึง เข้าใจ และรักในความเป็นประชาธิปไตย ต้องให้การศึกษาเป็นแนวทางสำคัญที่จะทำให้ประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้ ดังนั้น โรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่จัดการเรียนรู้ จึงมีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องจัดให้มีการเรียนรู้ความเป็นประชาธิปไตยแก่ผู้เรียน  
การสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียน จะเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการนำไปใช้สังคมและชุมชน เป็นการเตรียมความพร้อมผู้เรียนให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคตเป็นการสร้างลักษณะนิสัยให้ผู้เรียนได้รู้จักระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์และกติกาของสังคม ตลอดจนรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ของตน ทีมงาน รับผิดชอบชุมชน และสังคมได้อย่างเหมาะสม  โดยโรงเรียนต้องนำรูปแบบประชาธิปไตยมาใช้ในโรงเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นประชาธิปไตย รู้จักปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามภาระหน้าที่ และมีวิถีชีวิตตามหลักประชาธิปไตย สามารถดำรงตนให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตย ผู้บริหารการศึกษาทุกท่านในฐานะที่เป็นผู้ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน จึงควรสนับสนุนสิ่งต่างๆ ดังนี้
1.           กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน อ่านเพิ่มเติม

การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในสังคม

      สังคมไทยเป็นสังคมเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน 
สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมที่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย 
รักความสงบ อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ และรู้จักช่วยเหลือเกื้อกูล
ซึ่งกันและกัน มีประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงาม แต่ในปัจจุบันสิ่งเหล่า
นี้ได้ลดน้อยลงไป คนไทยให้ความสำคัญกับวัตถุและความทันสมัยทาง
ด้านเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นความเสื่อมทางด้านศีลธรรมจึงเกิดขึ้นแพร่
หลายทั่วไป ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยเป็นอย่างยิ่งก่อให้เกิดปัญหา
ต่าง ๆ ตามมามากมาย และนับวันปัญหาดังกล่าวยิ่งทวีความรุนแรงมาก
ขึ้นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยทำให้สังคมไทยมีความสงบสุขและมีสันติสุข คือ
 คนไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตา,วิถีประชาธิปไตย ซึ่งการ
ปฏิบัติเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในสังคมไทยมีดังนี้1. การปฏิบัติ
ตัวเป็นพลเมืองดีในครอบครัว ครอบครัวประกอบด้วยบุคคลหลัก ๆคือ
บิดามารดาและบุตรธิดา การที่ครอบครัวจะมีความสุข สมาชิกภายใน
ครอบครัวต้องปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ทำดีต่อกัน คือ บิดามารดาควรปฏิบัติ
ต่อบุตรโดยเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนให้ทำสิ่งที่ถูกต้องตามหลักศีลธรรม
ไม่ให้ประพฤติชั่ว ส่งเสียให้เล่าเรียนสอนมารยาทที่ดีงามในสังคม 
ไม่ลงโทษโดยใช้ความรุนแรง เป็นต้นในขณะเดียวกันบุตรพึงปฏิบัติต่อ
บิดามารดาโดย มีความกตัญญูกตเวทีเลี้ยงดูบิดามารดา ช่วยกิจการของ
ครอบครัว ประพฤติตนเป็นคนดี เป็นต้น นอกจากนี้สามีและภรรยาควร
ปฏิบัติตนให้เหมาะสมต่อกัน โดยยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน
 เคารพและซื่อสัตย์ไม่นอกใจ รู้จักขยันใ อ่านเพิ่มเติม

ความหมายของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

ความหมายของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

หมายถึงระบอบการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ โดยอาศัยหลักการของการแบ่งแยกอำนาจ และหลักการที่ว่าด้วยความถูกต้องแห่งกฎหมาย ผู้ปกครองประเทศที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เป็นเพียงตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจให้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน 

รัฐสภา(ตัวแทนประชาชน)มีอำนาจถ่วงดุลกับฝ่ายบริหาร การแบ่งแยกอำนาจช่วยให้ควบคุมซึ่งกันและกัน ประชาชนจึงมีเสรีภาพมากขึ้นไม่ถูกบังคับความถูกต้องแห่งกฎหมาย ทำให้ประชาชนสามารถโต้แย้งคัดค้านการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐได้ การปกครองแบบประชาธิปไตย มีหลักเกณฑ์ขั้นต่ำ 3 ประการคือ

  • ผู้ปกครองจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใต้ปกครอง
  • ผู้ใต้ปกครองจะต้องมีสิทธิเปลี่ยนตัวผู้ปกครองได้เป็นครั้งคราว
  • สิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐานของประชาชนจะต้องได้รับการคุ้มครอง
องค์ประกอบของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เลือกตั้ง , หลักการแบ่งแยกอำนาจ , หลักความถูกต้องแห่งกฎหมาย การเลือกตั้งคือพื้นฐานสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งทำทำให้เกิดสถาบันการเมือง คือ พรรคการเมืองขึ้น

รุสโซ กล่าวว่า อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชน(จาก สัญญาประชาคม) แต่ด้วยประชาชนมีจำนวนมากไม่สามารถมีส่วนร่วมได้อย่างทั่วถึง จึงเกิดวิธีการ มอบอำนาจ ขึ้นซึ่งก็คือการเลือกผู้แทนของตน เข้าไปทำหน้าที่ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ตามที่ตนต้องการ การเลือกตั้ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
  • อิสระแห่งการเลือกตั้ง = โดยเสรี ไม่มีการบังคับ จ้างวาน / เลือกตั้งตามกำหนดเวลา = กำหนดสมัยแน่นอน ไม่ห่างเกินไป / ประชาชนควบคุมดูแลผู้แทนของตนได้ / เลือกตั้งอย่างแท้จริง = ไม่โกง ให้ราษฎรมีส่วนร่วมการจัดการ คัดค้านการทุจริตได้ / อ่านเพิ่มเติม